วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

แนวคิดทฤษฎี Elton Mayo




                           



                                       

                        ตัวอย่างวีดีโอทฤษฎี                                                                                                        






Elton Mayo  บิดาการบริหารงานแบบมนุษย์สัมพันธ์


หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา

         Elton Mayo เป็นนักสังคมวิทยาทำงานอยู่ฝ่ายการวิจัยอุตสาหกรรมของฮาร์วาร์ด (The Department of Industrial Research at Harvard) เขาได้ชื่อว่าเป็น “บิดาของการจัดการแบบมนุษยสัมพันธ์ หรือ การจัดการแบบเน้นพฤติกรรมศาสตร์” เขาและเพื่อนร่วมคณะวิจัย ได้แก่ John Dewey, Kurt Lewin, F.J. Roethlisber และ W.J. Dickson ได้ทำการศึกษาทัศนคติและปฏิกิริยาทางจิตวิทยาของคนงานการทำงานตามสถานการณ์ที่ต่างกันตามที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นที่ Western Electric’s Hawthorne Plant (1927 - 1932) ในการทดลองของเขาและคณะได้แบ่งการทดลองเป็นระยะต่อเนื่องกัน

เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไรบ้า
Hawthorne Studies เป็นการทดลองวิจัยในโรงงาน Western Electric Company ในปี ค.ศ. 1927-1932 โดยทีมงาน Hawthorne ภาย ใต้การนำของ Mayo ประกอบด้วยการวิจัยทดลอง 3 เรื่องใหญ่ :
ศึกษาสภาพห้องทำงาน (Room Studies),การสัมภาษณ์ (Interview Studies) และ การสังเกตการณ์ (Observation Studies)
·
สรุปผลการศึกษา Hawthorne
§  ปัจจัยด้านปทัสถานทางสังคม เป็นตัวกำหนดปริมาณผลผลิตไม่ใช้ปัจจัยด้านกายภาพ
§  ความคิดที่ว่าคนเห็นแก่ตัว ต้องการเงินค่าตอบแทนมากๆเป็นการมองแคบๆ
§  พฤติกรรมของคนงานถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม

สนับสนุนให้มีการทำวิจัยด้านผู้นำต่างๆ ผู้นำต้องเปิดโอกาสให้คน ในองค์การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
   
แนวความคิดทฤษฎีความสัมพันธ์ของ  Elton  Mayo สาระสำคัญ 

1. แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่ 
1.1 )  การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 
1.2)  ทฤษฎีสามมิติของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 
1.3)  การสนับสนุนจากสังคม

2. ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ได้แก่
2.1)  รู้จักและไว้วางใจผู้อื่น 
2.2)  รู้จักการติดต่อบุคคลอย่างตรงไปตรงมา
2.3)  การยอมรับและสนับสนุนซึ่งกันและกัน 
2.4)  การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

3. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา ได้แก่ 
3.1)  การทำงานมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย
3.2) ให้อิสระในการคิดแกไขปัญหาแก่ผู้ร่วมงาน 
3.3)  ให้ผู้ร่วมงานเกิดศรัทธา
3.4)  ให้รู้จุดมุ่งหมายของงาน 
3.5)  ความสำเร็จของงานเป็นของทุกคน
3.6)  สร้างความสัมพันธ์ให้ผู้เข้าร่วมงานเกิดความรักผูกพัน 
3.7)  มอบหมายงานที่เขาพอใจสนใจและอยากทำ
3.8) ให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน
                3.9)  ให้ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม 
                3.10)  การทำงานควรมีการประชุมปรึกษาหารือกัน 
                3.11) ให้เขามีความรู้สึกรับผิดชอบและรักษาผลประโยชน์ 

                3.12)  ส่งเสริมให้พนักงานมีความก้าวหน้า

4. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ได้แก่  
4.1)  เมื่อเพื่อนพูดให้รับฟังอย่างเต็มใจ 
4.2)  ให้ความเป็นกันเองและเป็นมิตร 
4.3)  ยกย่องชมเชยเพื่อนร่วมงานด้วยความจริงใจ
4.4)   อย่าแสดงว่าตนเหนือกว่าเพื่อนร่วมงาน 
4.5)  มีความจริงใจเสมอต้นเสมอปลาย 
4.6)  ให้ความช่วยเหลือเมื่อมีทุกข์ร้อน 
4.7)   มีโอกาสในการพบประสังสรรค์นอกเวลาทำงาน 
4.8).  ยิ้มแย้มแจ่มใสและเป็นมิตรกับเพื่อนร่วมงาน 
4.9)   ไม่โยนความผิดหรือซัดทอดความผิดให้กับเพื่อนร่วมงาน 
4.10) ใจกว้างและยอมรับความสามารถของเพื่อนร่วมงาน

5. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตามหลักพุทธรรม 3 หมวด ได้แก่ 
5.1)  ฆราวาสธรรม 4    สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ 
5.2)  สังคหวัตถุ 4 ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมนัตตา 
5.3) .พรหมวิหาร 4 เมตตา  กรุณา มุทิตา อุเบกขา

6. การสร้างทีม ได้แก่ 
6.1)   มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก 
6.2)   สมาชิกเข้าใจบทบาทของตน 
6.3)  สมาชิกเข้าใจในกติกา กฎระเบียบ 
6.4)   การติดต่อสื่อสารที่ดี 
6.5)   มีการสนับสนุนระหว่างสมาชิก 
6.6)   สมาชิกเข้าใจกระบวนการทำงาน 
6.7)   สมาชิกมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง 
6.8)   มีความร่วมมือในการทำงาน 
6.9)   มีการเพิ่มพูนทักษะความรู้ความสามารถ 
6.10)  มีความรู้สึกพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

7. บทบาทของสมาชิกในทีม ได้แก่ 
7.1)  บทบาทของแต่ละคนในทีม 
7.2)  พฤติกรรมในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 
7.3)  บทบาทของพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม

8. ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ 
8.1)  ความจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบและผูกพัน
8.2)  ความจำเป็นในการพัฒนาทักษะ 
8.3)  ความจำเป็นต้องพัฒนาความเข้าใจ 
8.4)  มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับทีมงาน

9. การสร้างความสัมพันธ์ในทีมงาน ได้แก่ 
9.1)  ให้เกิดความรับผิดชอบในทีม 
9.2)  ให้เกิดความร่วมมือในการทำงานและปทัสถานสังคม 
9.3)  ให้เกิดความเข้าใจในการเผยแพร่ข่าวสาร 
9.4)  ให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน 
9.5)  มีการแข่งกันในการบริหาร 
9.6) ไม่มีการแบ่งแยกศาสนา 
9.7) ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ

10. แรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่ 
10.1)  แรงจูงใจในการทำงานและบริหารงานบุคคล 
10.2)  ปัจจัยของแรงจูงใจในการทำงาน 
10.3)  แรงจูงใจกับความต้องการของบุคคล 
10.4)  ทฤษฎีแรงจูงใจต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้



แนวคิดทฤษฎี Henri Fayol



                             Henri Fayol 



                           ตัวอย่างวีดีโอทฤษฎี Henri Fayol 


แนวคิดและทฤษฎี     Henri Fayol




 1. หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา

      มีชีวิตอยู่ในช่วง ปี ค.ศ. 1841-1926 เป็นชาวฝรั่งเศส นักเศรษฐศาสตร์และนักทฤษฎีทุนนิยมเสรีแนวใหม่ (neoclassical economic)
      ค.ศ. 1860 เมื่อเขาจบการศึกษาอายุได้ 19 ปี เขาได้เข้าทำงานที่บริษัทเหมืองแร่ชื่อ Compagnie de Commentry-Fourchambeau-Decazeville
      ได้ไต่เต้าสู่ตำแหน่งสูงสุดเป็นผู้อำนวยการในช่วงปี ค.ศ. 1888-1918
      เขาได้เขียนหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1916 ชื่อ Administration industrielle et générale หรือ หลักการบริหารอุตสาหกรรม

หลักการบริหาร 14 ข้อ
1. การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
2. การมีเอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction)
3. การแบ่งานกันทำ (Division of Work)
4. การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)
5. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility)
6. ความเสมอภาค (Equity)
7. สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)
8. การให้ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)
9. การมีระเบียบข้อบังคับ (Order)
10. ความมีระเบียบวินัย (Discipline)
11. ความคิดริเริ่ม (Initiative)
12. ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ส่วนรวม
  (Sulxordination of Individual Interest to the General Personnel)
        13. ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of Lenore of Personnel)
        14. ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit de Crope)

เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร


Henri Fayol ได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมาก ๆ ในกาทำงานแล้วละก็หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น มีองค์ประกอบด้วย ปัจจัย คือ POCCC  
1 Planning
2.  Organizing
3.  Commanding
4.  Coordinating
5.  Controliing


เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร       
                           จากหลักการด้านการจัดการของ FAYOL มีลักษณะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้จัดการในองค์การเป็นอย่างมาก FAYOL ได้กล่าวว่า  หลักการของเขาไม่ใช่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่าง ๆ หลักการของ FAYOL มีลักษณะเป็นสากลซึ่งต่อมาได้มีการอธิบายขยายความต่อโดยSHELDEN  URWICK และ BARNARD

ข้อดี/ข้อเสีย ของเครื่องมือ

ข้อดี....
1.  องค์การมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากที่มีการปรับปรุงกระบวนการบริหาร
2.  สามารถพัฒนาผลผลิตของคนงานให้ดีขึ้นได้
3.  สามารถนำมาใช้ในการบริหารงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสีย....
1.  มุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงานในระดับผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนใหญ่


การนำไปใช้ :
                    
                      ทฤษฎีการบริหารของ Fayol ยอมรับองค์การที่เป็นทางการ โดยใช้ประโยชน์จากการแบ่งงานกันทำ (Specialization) และเน้นถึงความสำคัญที่ว่าอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบต้องเท่ากัน โดย Fayol ระบุว่าเป้าหมายที่สำคัญขององค์การ คือ ความเป็นระเบียบ ความมั่นคง ความคิดริเริ่ม และความสามัคคี นักทฤษฎีการบริหารจะต้องเป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับนักทฤษฎีระบบองค์การขนาดใหญ่แล้ว สิ่งที่พวกเขาสนใจและให้ความสำคัญ คือหลักการและแนวคิดสำหรับการประสบความสำเร็จขององค์การซึ่งเป็นทางการ



วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556


แนวคิดและทฤษฎีของ Abraham H.Maslow









Abraham H.Maslow




ชื่อทฤษฎี : ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ (Hierachy of Need Theory) หรือทฤษฎีการจูงใจ (Maslow's Theory of Motivation)


หลักการและแนวคิด
     Maslow เห็นว่าลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์แบ่งออกเป็น 5 ลำดับ ต่อไปนี้
       1. ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs)
       2. ความต้องการทางด้านความปลอดภัย (Safety Needs)
       3. ความต้องการทางด้านสังคม (Social Needs)
       4. ความต้องการที่จะมีฐานะเด่นหรือชื่อเสียง (Esteem Needs)
       5. ความต้องการที่จะให้ประสบความสมหวังในชีวิต (Self-Actualization Needs)



เครื่องมือนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง
             1. ความต้องการทางร่างกาย (physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน เป็นต้น
             2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง (security or safety needs) เมื่อมนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการทางร่างกายได้แล้ว มนุษย์ก็จะเพิ่มความต้องการในระดับที่สูงขึ้นต่อไป เช่น ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความต้องการความมั่นคงในชีวิตและหน้าที่การงาน
             3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (belongingness and love needs) ความต้องการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการทางด้านร่างกาย และความต้องการความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว บุคคลต้องการได้รับความรักและความเป็นเจ้าของโดยการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความต้องการได้รับการยอมรับ การต้องการได้รับความชื่นชมจากผู้อื่น เป็นต้น
             4. ความต้องการการยกย่อง (esteem needs) หรือ ความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นความต้องการการได้รับการยกย่อง นับถือ และสถานะจากสังคม เช่น ความต้องการได้รับความเคารพนับถือ ความต้องการมีความรู้ความสามารถ เป็นต้น
             5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (self-actualization) เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น

เครื่องมือนี้ใช้เพื่อ
       มีการนำลำดับขั้นของมาสโลว์มาใช้ในการเรียนการสอนเรื่องการตลาด เพื่อช่วยในการเข้าใจแรงจูงใจของลูกค้า นักการตลาดจะวิเคราะห์ประวัติความต้องการของลูกค้าเพื่อหาวิธีดำเนินการทางการตลาด ถ้าผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามักจะเลือกผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างมากกว่าผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันจากคู่แข่งธุรกิจระหว่างประเทศ
 ข้อดี/ข้อเสีย ของเครื่องมือ
  
ข้อดี:     1. เข้าใจแรงจูงใจของลูกค้า นักการตลาดจะวิเคราะห์ประวัติความต้องการของลูกค้า
     2. รู้วิธีดำเนินการทางการตลาด เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้
ข้อเสีย :
   1. มุมมองนี้เป็นมุมมองถูกจัดว่าเป็นมุมมองแบบปัจเจกนิยมซึ่งเน้นตนเองมากกว่าสังคมแบบคติรวมหมู่ โดยในสังคมแบบคติรวมหมู่นิยม ความต้องการการยอมรับและกลุ่มสังคมจะมีความสำคัญเหนือกว่าความต้องการอิสรภาพและความเป็นตัวของตัวเอง กล่าวคือลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์ไม่สามารถใช้กับทุกคนได้



ปัจจุบันความต้องการของลูกค้าไม่ได้เป็นไปตามลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์





การนำไปใช้
     
   ทฤษฎี Maslow นำไปใช้ประโยชน์ได้เฉพาะบุคคลที่มีสุขภาพสมบูรณ์เหมือนบุคคลธรรมดาเท่านั้น บุคคลปกติส่วนมากในสังคมที่เจริญแล้ว ความต้องการทางด้านร่างกายและความปลอดภัยจะไม่เป็นสิ่งจูงใจ แต่ในสังคมที่มีความอดอยากและขาดแคลนอาหารแล้ว ความต้องการของคนประการแรกที่สุดคือ ความต้องการด้านร่างกาย กระทั่งในสังคมที่เจริญแล้ว ทฤษฎีของ Maslow ก็ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยทั่ว ๆ ไป โดยความต้องการทั้งหมดจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความมากน้อยของความต้องการและพฤติกรรมของบุคคลหนึ่ง การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งยากที่จะมีแรงจูงใจด้วยความต้องการแต่เพียงอย่างเดียว